วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ต้นตะกู


ต้นตะกูยักษ์ ไม้เศรษฐกิจตัวใหม่ ปลูกง่าย โตเร็ว

 

ต้นตะกู มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ตุ้มหลวง ตุ้มเนี่ยง ตุ้มพราย ทุ่มพราย กระทุ่มบก ตะกูเป็นต้น ต้นตะกูเป็นไม้ขนาดใหญ่ สูง 15 – 30 เมตร กิ่งออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มสั้นอยู่ด้านล่าง หูเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแน่น กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 5 ซ.ม.ก้านช่อยาว 3 – 4 ซ.ม. ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น กลีบดอกสีเหลือง


เชื่อมกันเป็นหลอดยาวรูปดอกเข้ม ผลเป็นกระจุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลเมื่อแก่ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ตามหุบเขาหรือริมลำธาร


ต้นตะกูอาจจะไม่คุ้นหู เพราะใกล้สูญพันธ์ในประเทศไทยแล้ว ต้นตะกูยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนต่อความแห้งแล้ง ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแต่ช่วง 1 – 3 เดือนต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ต้นตะกูเริ่มมีการปลูกบ้างแล้วในหลายพื้นที่ และน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือนักลงทุน ได้ไม่น้อยกว่า ไม้สัก ยางพารา หรือยูคาลิปตัส

การกระจายพันธ์และนิเวศวิทยา : จากอินเดีย จนถึงมาเลเซีย พบขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นใกล้น้ำ ที่ระดับความสูง 500-1500 เมตร

ประโยชน์ : เนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม และทำเยื่อกระดาษได้

มีต้นกล้าขาย มีแปลงเพาะสนใจนัดดูได้ครับ ขนาดต้นมีประมาณ 7 ใบ สามารถนำไปปลูกลงแปลงได้เลยครับ อยู่ที่ กรุงเทพ ครับ


ติดต่อ ศูนย์ แปด หก เจ็ด สี่ ศูนย์ สอง ห้า แปด ศูนย์


 

 


ในปัจจุบันสถานการณ์การขาดแคลนไม้ทั้งในเมืองไทยและตลาดโลกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการใช้ไม้จำนวนมหาศาลของประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จากอดีตจนถึง ปัจจุบัน มีการตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาสนองความต้องการ ในการใช้ประโยชน์จากไม้ของมนุษย์ตลอดมา จนเมื่อมาถึงจุดวิกฤติ หลายประเทศได้มีการห้ามตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีการออกกฏหมายห้ามตัดไม้ในปี พศ. 2532 , ส่วนประเทศในแถบยุโรป, สหรัฐอเมริกา ,แคนนาดา, และสแกนดิเนเวีย หลายประเทศออกกฏหมายห้ามตัดไม้มานานหลายสิบปี เมื่อการห้ามตัดไม้เกิดขึ้น ทางออกของการแก้ปัญหา ที่จะตอบสนองอุปสงค์จำนวนมหาศาลเหล่านี้จึงมีอยู่ทางเดียวคือการปลูกไม้ขึ้นเองเพื่อใช้งาน ซึ่งทำให้ในหลายประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรมสวนป่าเศรษฐกิจขึ้นอย่างมั่นคง โดยได้รับการนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน มีการพัฒนากระบวนการการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งในด้านสายพันธุ์พืชและในเรื่องกรรมวิธีการปลูกและดูแลรักษา ต่อเนื่องไปจนถึงเทคโนโลยีในการแปรรูป และการผลิตสินค้าและลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้ในตลาดโลกได้ทันเวลานั้น หลายประเทศจึงศึกษาและเสาะแสวงหาพันธุ์ไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้ดี เหมาะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศนั้นๆ โดยเนื้อไม้สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่นไม้สน, มะฮอกกานี,ไม้เพาโลเนีย,ยูคาลิปตัส เป็นต้น ในประเทศไทยนับจากมีการปิดป่าถานการณ์ความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลนไม้ใน ตลาดมีเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ตัวเลขการนำเข้าไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ จากต่างประเทศที่มีมากถึงประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท และเป็นตัวเลขการนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากคำกล่าวของ นายธานี วิริยะรัตนพร รองอธิบดีกรมป่าไม้ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา กล่าวถึงสถานการณ์ไม้เศรษฐกิจว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้บางส่วนต้องนำเข้าไม้จากต่างประเทศมูลค่าสูงถึงปีละ 50,000 ล้านบาท ตัวเลขการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ถ้าเราไม่หาทางออกไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าในอนาคตไทยต้องเจอวิกฤติขาดแคลนไม้เศรษฐกิจแน่ และเมื่อพิจารณาไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ที่มีการนำเข้ามาในไทย ส่วนหนึ่งจะนำเข้า จากประเทศที่ยังคงมีทรัพยากรป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่ แต่ก็มีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในอนาคตไม้ที่จะนำเข้ามาในประเทศจะมาจากกลุ่มประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรมสวนป่าเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, กลุ่มประเทศทางสแกนดินีเวีย เป็นต้น ในปัจจุบันการผลิตไม้เพื่อใช้แปรรูปในเมืองไทยมีเพียงไม้ยางพาราแปรรูปเท่านั้นที่มีปริมาณในตลาด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตัดโค่นยางพาราที่หมดอายุน้ำยางโดยสามารถผลิต ป้อนตลาดไม้แปรรูปในประเทศและส่งออกได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าในแต่ละปี แม้ว่ามีการทะยอยโค่นตัดไม้ยางพาราจำหน่ายสำหรับแปรรูปเพื่อทำสินค้าและผลิตภัณฑ์,เครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ แต่ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุมาจากไม้ยางพาราแปรรูปที่ผลิตได้ ส่วนมากจะทำการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ เวียตนาม,ญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากราคาไม้แปรรูปที่ส่งไปยังประเทศดังกล่าว มีราคารับซื้อที่สูงกว่าในประเทศ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ต้องใช้ไม้ในประเทศกลับประสบปัญหาขาดแคลนไม้ใช้งาน โดยอีก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณไม้ยางพารามีการขาดแคลนและมีความผันผวนก็คือถ้าราคาน้ำยางพาราในตลาดมีราคาสูง เกษตรกรจะชะลอการตัดโค่นไม้เพื่อแปรรูปในระยะที่กำลังจะหมดน้ำยางและหันมาขายน้ำยางแทน โดยในกรณีนี้เมื่อต้นยางอายุมากถึงจุดหนึ่ง จะถึงอายุที่ต้นยางพาราจะให้น้ำยางในปริมาณน้อยและจะลดลงเรื่อยๆเกษตรกรจะทำการตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อขายไม้ แต่หากในช่วงดังกล่าวราคาน้ำยางในตลาดราคาดี เกษตรกรก็จะชะลอการตัดโค่น หันมาขายน้ำยางอีกระยะหนึ่งก่อน ทำให้จำนวนไม้ ที่ต้องแปรรูปเพื่อป้อนตลาดนั้นชะลอตัวและมีปริมาณลดลง จะเห็นได้ว่าแม้ปริมาณการ ปลูกยางพาราในประเทศจะมีมากก็ตาม แต่ภาวะการขาดแคลนไม้ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม้ยางพาราไม่ใช่ไม้สวนป่าโดยตรง แต่การแปรรูปไม้ยางพาราเป็นเพียงผลพลอยได้ของการปลูกสวนยาง เพื่อใช้น้ำยางเท่านั้นระยะตัดฟันที่แท้จริงต้องรอให้ไม้หมดน้ำยางประมาณอายุตั้งแต่ 25-30 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ระยะเวลาวงจรการโค่นตัดเป็นเวลานาน และให้ผลผลิตเนื้อไม้ต่อไร่ไม่สูงนัก สถานการณ์การขาดแคลนไม้ในปัจจุบัน มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในวงกว้าง แม้กระทั่งสมาคมผู้ผลิตเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ที่เคยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนส่งออก ยังพิจารณาการทำข้อตกลงนำเข้าไม้หลากชนิดจากสหรัฐอเมริกาแทน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ ส่วนไม้เบญจพรรณและไม้ชนิดอื่น ก็มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถทำส่วนแบ่งการตลาดได้เพราะไม่มีปริมาณไม้ในมือ 



ปลูกแล้วรวยครับเนื่องจากไม้เมืองไทยหมดแล้วครับ 
การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์ครับ (ไม้เมืองไทยหมดแล้วครับพี่ ๆ ๆ เพื่อนชาวสวน) 
การปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน ระยะปลูก 4 x 4 ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 100 ต้นหรือ 150- 170 ต้นครับ ปลูกเพื่อขาย หลุมปลูกมีขนาด 30×30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษ รองก้นหลุมๆละ 250-300 กรัม คลุกเคล้าให้ทั่วหลุม แล้วนำต้นตะกูลงไปปลูกในหลุม โดยให้ระมัดระวังขณะฉีกถุงอย่าให้ดินในถุงแตก หลังขากนั้นให้กลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งหรือน้ำแฉะขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ 
การใส่ปุ๋ย 
ปีที่ 1 - หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 300 กรัม- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม 
ปีที่ 2 - ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 350-400- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม 
ปีที่ 3-5 
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม 
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม 
ปีที่ 6 ขึ้นไป ให้ตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูมีขนาดที่ใหญ่ออกทางด้านข้าง และมีเนื้อไม้ที่แข็งแรงการใส่ปุ๋ยให้ใส่ 
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม 
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม 
การดูแลรักษา 
นอกจากการใส่ปุ๋ยตามที่กำหนด สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่1-2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช เข้าไปในแปลงปลูกต้นตะกู เพราะอาจเข้าไปกินใบต้นตะกูได้ และอาจทำความเสียหายได้ถึง 60% ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมีอายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักแต่จะเบากว่าเล็กน้อย อายุ 5 ปีขึ้นไป สามารถแปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลาย เช่น เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ พื้นกระดาน ฝาบ้าน ลังใส่ของคุณสมบัติพิเศษ คือ ปลูกง่าย โตเร็ว หากมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จะทนต่อภาวะน้ำท่วมและไฟป่า สำคัญปลวกมอดไม่กิน ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมีอายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้ 



อ.ชอบ 081-906-5549 081-915-9209 จ.นนทบุรี 
มีกล้าพันธ์ขายครับก้านแดงต้นละ 9.50 บาทครับสูง 8-10 นิ้วครับสั่งครับ ผม ปลูกแล้ว 100 ไร่ครับ 
จ.เพชรบูรณ์ครับ 
เมื่อปลูกครบ 5 ปี 
ต้นตะกูจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่ต่ำกว่าสามสิบเซ็นและสูงไม่ต่ำกว่าสิบเมตร จะทำให้ตะกูมีเนื้อไม้ 2.5 คิว ปัจจุบันราคาไม้ คิวละ 2,500 บาท ไม้ตะกูมีความหนาแน่นของเนื้อไม้อยู่ที่ 0.5 และไม้สักทองมีเนื้อไม้อยู่ที่ 0.56 ซึ่งใกล้เคียงกันมาก สีเนื้อไม้ก็ใกล้เคียงกัน ปลูก 1 ครั้ง ตัดได้ 3 เที่ยว ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้ประโยชน์ ต้นตะกู
          ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาทิเคิลบอร์ด แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดีการใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในอุตสาหกรรมทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปใช้ทำกระดาษเขียนหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดีและยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูงนอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษโดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5 –10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากี่สุดชนิดหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ต้นตะกู
          ไม้ ต้นตะกู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anthocephalus chinensis Rich. Ex Walp. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อสามัญเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นว่า ไม้กระทุ่ม หรือ กระทุ่มบก (ภาคกลางและภาคเหนือ) ตะโก ใหญ่ หรือ ตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และ ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ ตะกู เป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้น สามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพแตกหน่อได้ดี มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ ทิเคิลบอร์ด และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดี

ลักษณะทั่วไป ต้นตะกู
          ตะกู เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ขึ้นในป่าดงดิบชื้น ป่าดิบแล้งหรือตามริมน้ำท่ามกลางป่าผลัดใบ เรือนยอดมีลักษณะเป็นพุ่มกลม กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบเนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน ใบเป็นแบบใบเดี่ยวรูปไข่ ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีขนาดใหญ่ประมาณ 5-12 x10-24 เซนติเมตร ปลายใบ มนหรือเป็นติ่งแหลมโคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนาหลังใยมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่ม และ จะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้านดอกมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อ ดอกแบบ head สีขาวปนเหลืองหรือส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ ตามปลายกิ่ง ผลเป็นแบบผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก ซึ่งเรียกผลแบบนี้ว่า fruiting head มีขนาดความโตวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.4-6 เซนติเมตร ต้นตะกูที่โตเต็มที่แล้วจะออกในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายนกันยายน หลังจากนั้นผลจะแก่ในช่วงเดือนกันยายนตุลาคม ตะกูผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมากบรรจุอยู่ภายในเมล็ด ยาวประมาณ 0.66 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 0.44 มิลลิเมตร เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18 -26 ล้านเมล็ด

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติต้นตะกู
          ตะกู พบในประเทศอินเดีย เนปาล พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ไม้ชนิดนี้เป็นไม้ที่เชื่อ ว่ามีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึง แถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี ในประเทศไทย ต้นตะกู มีการกระจายพันธุ์อยู่แทบภาคของประเทศ โดยพบที่เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยมักพบตันตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การขยายพันธุ์และการเตรียมกล้า
          ตะกู สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ (โดยใช้เมล็ด) และไม่อาศัยเพศทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ในการขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
          เนื่องจากช่อผล (fruiting head) หนึ่ง ๆ ของตะกูจะให้เมล็ดจำนวนมาก โดยประมาณกันว่าใน 1 ช่อผล (ซึ่งมีประมาณ 110 ผล) จะให้เมล็ดถึง 89,500 เมล็ด ดังนั้นการขยายพันธุ์เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าจึงนิยมใช้เมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์เพราะสามารถเตรียมกล้าไม้ได้เป็นจำนวนมากและง่ายในกาดูแลรักษา

การเก็บผล ตะกู
          ผล ตะกู เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม วิธีการเก็บผลกระทำได้โดยการปีนขึ้นไปเก็บบนต้นไม้หรือใช้ไม้สอย ผลที่แก่เต็มที่เมื่อสอยลงมาจากต้นและนำไปเพาะจะมีอัตราการงอกดีกว่าเมล็ดที่ได้จากผลที่หล่นลงมาเอง เนื่องจากเมล็ดที่หล่นลงมาเองจะเน่าก้อนนำไปเพาะเป็นจำนวนมากสำหรับการแยกเมล็ดออกจากผลนั้นกระทำโยการผ่านเอาเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณผิวของช่อผลออก แล้วขยี้แยกผลและเมล็ดออกจากแกนช่อผลก่อนไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำไปคลุกยาฆ่าเชื้อรา เพื่อนำไปเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดที่มีฝาปิด

 

 

 

 

 

 

 

 

การดูแลรักษากล้าไม้
          ในระยะหลังจากย้ายชำกล้าไม้ใหม่ ๆ ควรจะรดน้ำในถุงชำทั้งเช้าและเย็นเพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็ว เมื่อกล้าไม้ตั้งตัวได้และได้โรยทรายหยาบหน้าถุงชำแล้ว รดน้ำเพียงวันละครั้งในตอนเช้าก็เพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้กล้าไม้เติบโตทางความสูงเร็วเกินไปซึ่งจะทำให้ต้นอ่อน คดงอ และหักล้มได้ง่าย

การถอนวัชพืช
           เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชขึ้นเบียดเสียดแย่งอาหารในถุงชำกล้าไม้ตะกูควรทำการถอนวัชพืชอย่างน้อยเดือนละครั้ง ปกติจะถอนวัชพืชภายหลังจากการรดน้ำกล้าไม้เสร็จแล้วใหม่ ๆ เพราะดินในถุงชำยังอ่อนอยู่ ซึ่งจะทำให้การถอนวัชพืชดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อถอนวัชพืชแล้วก็แต่งดินหรือทรายหน้าถุงชำนั้นให้เรียบร้อย

การตัดราก
          เนื่องจากหากปล่อยให้รากหยั่งลึกลงไปในดินนอกถุงชำแล้ว เวลาจะขนกล้าไม้ไปปลูกจะทำให้ระบบรากได้รับความกระทบกระเทือนมาก และอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการตัดรากด้วยวิธีลากถุงหรือเลื่อนถุงชำกล้าไม้โดยใช้มือจับกึ่งกลางถุง กดให้ถุงแนบติดกับพื้นดินในขณะที่เราทำการเลื่อนหรือลากถุงก็จะทำให้รากดังกล่าวนั้นขาดได้การตัดรากควรจะกระทำอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้งการจัดแยกชั้นความสูง เป็นการเรียงต้นไม้ตามลำดับตั้งแต่สูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้กล้าไม้ทุกต้นได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตเร็วและมีความแข็งแรงกับทั้งยังมีความสะดวกในการคัดเลือกนำกล้าไม้ไปปลูกอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีปลูกต้นตะกู
    1. เตรียมกล้าพันธุ์ สูงประมาณ 10 นิ้ว ไว้เตรียมรอปลูก
    2. ขุดหลุมกว้าง 30 x 20 ซม. หากเป็นพื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้างกว่าปกติ 40 x 30 
         เซนติเมตร 
    3. ควรขุดหลุมตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 วันเพื่อฆ่าเชื้อ 
    4. ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ Super 1 คลุกกับดิน เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี
    5. เวลากลบดินอย่าให้เป็นแอ่งน้ำขัง กลบดินให้แน่น และ ใช้ไม้ค้ำเพื่อป้องกันต้นล้มหักได้
         ระยะเริ่มปลูกถึง 3-4  เดือน ควรดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่
        ชะงักการเจริญเติบโต พอต้นไม้อายุประมาณ 5 - 8 เดือน สูงประมาณ 5 เมตร 
        พื้นราบ การปลูก 3 x 3 เมตร   (ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 3 เมตร
        ที่เนินเขา การปลูก 3 x 5 เมตร (ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 5 เมตร

วิธีใส่ปุ๋ยสำหรับต้นตะกู
ปีที่ 1   
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 ต้นละ 300 กรัม 
ครั้งที่ 2 ในช่วงปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 อัตราต้นละ 400 กรัม  
ปีที่ 2      
ครั้งที่ 1 ในช่วงต้นฤดูฝน  ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 อัตราต้นละ 350-400 
ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฤดูฝน  ใช้ปุ๋ย  อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 อัตราต้นละ 400 กรัม 
ปีที่ 3-5    
ครั้งที่ 1 ช่วงต้นฤดูฝน ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 อัตราต้นละ 500 กรัม 
ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฤดูฝน  ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ สูตร ซุปเปอร์ 1 อัตราต้นละ 500 กรัม   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การป้องกันโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ

          ตะกู เป็นพรรณไม้เบิกนำซึ่งตามธรรมชาติจะขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ฉะนั้นศัตรูธรรมชาติ เช่น โรคและแมลงจึงมีน้อยกว่าพรรณไม้ดั้งเดิมที่ชอบขึ้นเดี่ยว ๆ แต่อย่างไรก็ตามที่ในซึ่งไม้ตะกูขึ้นอย่างหนาแน่นอาจพบหนอนผีเสื้อ Arthroschita hilaralis (pyralidae) เจาะทำลายบ้าง นอกจากนี้อาจพบพวกนีมาโทดจำพวกMeloidogyne sp. เกาะทำลายเรือนรากทำให้ต้นไม้ตายได้ ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ จากการทดลองกับต้นตะกูอายุ 6 เดือน พบว่าตะกูส่วนใหญ่จะติดเชื้อด้วยโรคจากนีมาโทดชนิดนี้และจากการใช้ยาดีดีทีในอัตรา 40 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีขึ้น สำหรับโรคราในแปลงเพาะกล้าไม้ตะกูนั้น เท่าที่พบโรคเน่าคอดิน (dumping off) จะเป็นอันตรายที่สุดในระยะเริ่มแรก Bholachai , p.(1976) พบว่าหากหว่านเมล็ดตะกูลงในพื้นที่ขนาด 30 x45 ซม.2 โดยใช้เมล็ดหนักมากกว่า 3 กรัม แล้วจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินอย่างรุนแรงเนื่องจากกล้าไม้มีความหนาแน่นมากเกินไปและขนาดความหนาแน่นที่เหมาะสมที่สุดคือใช้เมล็ดหนักประมาณ 0.5 – 3 กรัม ต่อพื้นที่ขนาดดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเจริญเติบโตและผลผลิต ต้นตะกู
          อัตราการเจริญเติบโตของต้นตะกูในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังย้ายปลูกแล้ว 1 ปีอาจสูงถึง 3 เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 ถึง 3 เมตรต่อปีติดต่อกันไปนาน 6-8 ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3 – 7.6 เซนติเมตร/ปี เมื่ออายุเลย 20 ปี แล้วอัตราการเจริญเติบโตจะลดลง Whitmore (1975) ได้รายงานว่าหากใช่รอบหมุนเวียน 30 ปี ต้นอาจโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 เซนติเมตร และสูง 38 เมตร ให้ผลผลิตประมาณ 56 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในประเทศฟิลิปปินส์Manzo et al. (1971) ได้บันทึกไว้ว่าตะกูสามารถเจริญเติบโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 45 เซนติเมตร และสูง 12.6 เมตรในเวลา 12 ปี ทีปอเตอริโกสวนป่าตะกูที่นำพันธุ์ไปจากอาเซียบางต้นหลังจากปลูกแล้ว 5 ปี มีความโตเต็มที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตประมาณ 280 เซนติเมตร สูงประมาณ 27 เมตร และที่สวนป่าลาดกระทิงจังหวัดฉะเชิงเทราเมื่ออายุ 14 ปี มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 18.82 เมตร มีความโตทางเส้นรอบวง 75.93 เซนติเมตร โดยให้ปริมาตร 29.35 ลูกบาศก์เมตร /ไร่ หรือ 183.44 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์

 

 

กรณีที่ 1 – เกษตรกรร่วมลงทุนกับบริษัท
การลงทุนปลูกต้นตะกู 1-5 ปี
ผลประโยชน์เจ้าของที่ดินที่ได้รับ ( สมมติที่ 10 ไร่ เกษตรกรซื้อต้นกล้าต้นละ 30 บาท ทำสัญญาเสร็จเริ่มปลูก 16,000 ต้น
(1 ไร่ ปลูกได้ 1,600 ต้น)

ครบรอบ 1 ปี

บริษัทตัดต้นไม้

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

720,000 บาท

2 ปี

"

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

720,000 บาท

3 ปี

"

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

720,000 บาท

4 ปี

"

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

720,000 บาท

ปีสุดท้าย5 ปี

"

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

720,000 บาท

ปีสุดท้าย5 ปี

ตัดที่เหลืออีก

4,000 ต้น ๆ ละ

2,500 x 4,000

=

10,000,000 บาท


รวม 5 ปี รับเงินทั้งสิ้น 13,600,000 บาท
บริษัทฯ หักค่าดำเนินการไร่ละ 320,000 / 10 ไร่ 3,200,000 บาท
คงรับเงินได้สุทธิ = 10,400,000 บาท

***บริษัทหักค่าดำเนินการทุกปีปีละ 320,000 x4 ปี = 1,280,000 บาท ปีที่ 5 หักค่าดำเนินการที่เหลืออีก 1,920,000บาท

กรณีที่ 2- เกษตรกรซื้อต้นกล้าจากบริษัทฯ ต้นละ 10 บาท โดยเกษตรกรดำเนินการลงทุนการปลูกเอง
การลงทุนปลูกต้นตะกู 1-5 ปี (สมมติที่ 10 ไร่ )
กรณีที่ 1 - เกษตรกรให้บริษัทลงทุนให้ บริษัทคิดค่าใช้จ่ายและดำเนินการ ( ดำเนินการปลูก ติดสริงเกอร์ ให้ปุ๋ย)เป็นจำนวนเงินไร่ 320,000 บาท ทางบริษัทขอเรียกเก็บจากเกษตรกรก่อนไร่ละ 30,000 บาท ส่วนที่เหลือจะเก็บเมื่อตัดต้นไม้ เป็นจำนวนเงิน 290,000 บาท รวมเป็นเงินลงทุนทั้งหมด 320,000 บาท/ ไร่ โดยบริษัทจะประกันราคารับซื้อต้นละ 2,500 บาท

ทุนปลูก 30,000 บาท/ ไร่ 2x 2 ม. = 400 ต้น ผลตอบแทน 5 ปี 4,000 x 2,500 = 10 , 000,000 บาท
หักค่าดำเนินการปีที่ 3,200,000 บาท
คงรับเงินได้สุทธิ 6,800,000 บาท

กรณีที่ 2 - เกษตรกรซื้อต้นกล้าจากบริษัทต้นละ 10 บาท บริษัทจะประกันราคารับซื้อต้นละ 2,500 บาท โดยเกษตรกรดำเนินการลงทุนการปลูกเอง

กรณีที่ 3 - ถ้าเกษตรกรปลูกไปแล้ว ยินดีรับซื้อไม้คืน โดยทำสัญญา ต้นละ 5 บาท

หมายเหตุ
- ค่าดำเนินการที่บริษัทรับผิดชอบคือ การปรับหน้าดิน ติดสปริงเกอร์ ให้ปุ๋ย โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการดูแลต้นไม้ อนึ่ง ไม้ที่ตัดไปนี้จะไปทำถ่านชีวมวล( Biomass Power ) ทำกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ
- ในกรณีที่เกษตรกรซื้อต้นกล้าในราคา 10 บาท เกษตรกรต้องลงทุนการปลูกเอง บริษัทรับประกันราคาซื้อคืนเช่นกัน
- ไม้อายุ 1 ปี สูง 10 ม.ขึ้นไป ราคาประกัน ต้นละ 60 บาท
- ไม้อายุ 5 ปี เส้นรอบวง 1 50 ซม.วัดจากโคนต้น 150 ซม. ความสูง 15 ม.ขึ้นไป ราคาประกันต้นละ 2,500 บาท

หลักฐาน
1. สำเนาโฉนด นส .3 สปก.
( ถ่าย หน้า-หลัง) หรือ ภ. บท.5( ถ่ายบัตร) รับรองสำเนา ( ถ่าย 1 ชุด)
2. สำเนาบัตรประชาชน ( 1 ชุด)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (1 ชุด)

 

ติดต่อ คุณพิฐชญาณ์ ( Marketing Manager )
Tel.: 080-613-4196

คุณกิตติศักดิ์ ( Area Manager )
Tel.: 086-048-0854

บ.ไม้สักหลวงไทย จำกัด
Tel : 044-283-987
Tel : 044-283-887
Fax : 044-283-988

 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการรับซื้อคืน

  • การรับซื้อคืน ไม้ 1 ปี ขนาดความสูง 10 เมตร ขึ้นไป ซื้อต้นละ 60 บาท
  • การรับซื้อคืน ไม้ 5 ปี ขนาดเส้นรอบวง 150 เซนติเมตร ขึ้นไป วัดจากโคนต้น ซื้อต้นละ 2,500 บาท

 

 

 

ข้อมูล  ไม้ตะกู

(Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp.)

 

1. คำนำ

ไม้ตะกูอยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อสามัญรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นว่า ไม้กระทุ่มหรืกระทุ่มบก (ภาคกลางและภาคเหนือ) ตะโกใหญ่ หรือตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อนในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้นสามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพ แตกหน่อได้ดี มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อและกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดี

 

2. ลักษณะทั่วไป

ตะกูเป็นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งหรือตามริมน้ำของป่าผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ใบเดี่ยวเรียงตังตรงข้ามเป็นคู่ ๆ มีขนาดประมาณ 5-12 x 10-24 ซม. ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าทางท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่ม และจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้าน

 

ดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ตามปลายกิ่ง ผลตะกูเป็นผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม. ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายใน เมล็ดยาวประมาณ 0.66 มม. กว้างประมาณ 0.44 มม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18-26 ล้านเมล็ด

ตะกูเป็นไม้ที่ออกดอกเมื่ออายุยังน้อย ที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร พบว่าเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน หลังจากนั้นผลจะแก่ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม

 

3. การกระจายพันธุ์

ตะกูพบในประเทศอินเดีย เนปาล ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ไม้ชนิดนี้เชื่อว่ามีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี ปกติแล้วตะกูจะขึ้นเจริญงอกงามได้ดีที่สุดในที่ดินลึกและมีความชุ่มชื้นสูง เช่น บนดินตะกอนริมฝั่งแม่น้ำ และขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร

 

ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยมักพบต้นตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น

 

4. การขยายพันธุ์

ตะกูสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ (โดยใช้เมล็ด) และไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการขยายพันธุ์

4.1 การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เนื่องจากช่อผล (fruiting head) หนึ่ง ๆ ของตะกูจะให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก โดยประมาณกันว่าใน 1 ช่อผล (ซึ่งมีประมาณ 110 ผล) จะให้เมล็ดถึง 89,500 เมล็ด ดังนั้นการขยายพันธุ์เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าจึงนิยมใช้เมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์ เพราะสามารถเตรียมกล้าไม้ได้เป็นจำนวนมากและง่ายในการดูแลรักษา

4.1.1 การเก็บผลตะกู ผลตะกูเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะมีสีเหลืองเข้ม วิธีการเก็บผลกระทำได้โดยการปีนขึ้นไปเก็บบนต้นหรือใช้ไม้สอย ผลที่แก่เต็มที่เมื่อสอยลงมาจากต้นและนำไปเพาะจะมีอัตราการงอกดีกว่าเมล็ดที่ได้จากผลที่หล่นลงมาเอง เนื่องจากเมล็ดที่หล่นลงมาเองจะเน่าก่อนนำไปเพาะเป็นจำนวนมาก สำหรับการแยกเมล็ดออกจากผลนั้นกระทำโดยการฝานเอาเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณผิวของช่อผลออก แล้วขยี่แยกผลและเมล็ดออกจากแกนช่อผลก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำไปคลุกยาฆ่าเชื้อราเพื่อนำไปเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดที่มีฝาปิด

ผลแก่

 

4.1.2 การเพาะเมล็ด

4.1.2.1 ฤดูทำการเพาะ การเพาะเมล็ดตะกูควรกระทำในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เพราะระยะเวลาดังกล่าวจะทำได้สะดวกและได้ผลดีเนื่องจากหมดหน้าฝนและอากาศไม่ร้อนจนเกินไป และอีกอย่างหนึ่งกว่าจะย้ายถุงลงชำได้ก็ต้องหลังจากงอกแล้วประมาณ 3 เดือน กล้าไม้จะต้องอยู่ในถุงชำอีกอย่างน้อย 4 เดือน ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขนาดดังกล่าวนับว่าเหมาะสมที่จะใช้ปลูกได้พอดีในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม

4.1.2.2 แปลงเพาะเมล็ด แปลงเพาะเมล็ดควรจะให้ร่มเงาบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากเมล็ดใหม่จะงอกได้ดีถ้าหากมีร่มเงาประมาณ 50 % แต่เมล็ดเก่าจะงอกได้ดีในที่โล่งแจ้ง ขนาดของแปลงเพาะควรจะกว้าง 1 เมตร สำหรับความยาวนั้นแล้วแต่ความเหมาะสม ความกว้างขนาดดังกล่าวทำให้การปฏิบัติงานในแปลงเพาะเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายต่อการคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้หว่านเมล็ดลงไป ขอบแลงก่อด้วยอิฐมอญหรืออิฐบล็อค ซึ่งจะทำให้แข็งแรงทนทานและสะดวกต่อการเตรียมดิน เหาะสำหรับการเพาะและดูแลรักษาต้นไม้ ลักษณะของก้นแลงควรจะเป็นแบบเปิดหรือไม่มีก้น ทั้งนี้เพื่อให้น้ำฝนหรือน้ำที่รดที่มีจำนวนมากเกินพอซึมลงไปในดินได้สะดวก แต่ละแปลงควรจะมีฝาครอบแปลงซึ่งด้านบนบุด้วยลวดตาข่ายสำหรับป้องกันสัตว์หรือแมลงที่ชอบกินหรือทำความเสียหายแก่เมล็ดและกล้าไม้ ส่วนมากจะใช้ฝาครอบนี้เฉพาะเวลากลางคืน สำหรับกลางวันจะเปิดให้ได้รับแสงเต็มที่ เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น

4.1.2.3 ดินสำหรับเพาะเมล็ด ควรจะเป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี สำหรับดินในกรณีอื่นควรจะผสมทรายลงไปด้วยประมาณ 50 % ดินที่จะใช้ควรทุบให้ละเอียดโดยแยกเอาเศษไม้ หินและกรวดออกเสียก่อน แล้วค่อยนำไปใส่ลงในแปลงเพาะ โดยใส่ให้เต็มเสมอกับขอบแปลง เสร็จแล้วใช้ไม้เหลี่ยมตบแต่งหน้าดินโดยเกลี่ยให้เสมอกับขอบแปลงทุกด้าน ก่อนหว่านเมล็ดลงไปในแปลงเพาะให้รดน้ำดินเสียก่อน แล้วทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเพื่อให้ดินเกาะตัวแล้วจึงค่อยหว่านเมล็ดลงไป

4.1.2.4 การหว่านเมล็ด เมล็ดตะกูมีขนาดเล็กมาก (เฉลี่ยแล้วเมล็ดหนึ่งจะยาวประมาณ 0.66 มม. กว้างประมาณ 0.44 มม. ) และมีกากซึ่งเป็นส่วนของผลปนอยู่ด้วย ซึ่งสามารถมองเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ เพื่อจะกะจำนวนเมล็ดให้ได้พอเหมาะกับขนาดของพื้นที่ที่เราจะทำการหว่าน ควรทดลองหว่านเมล็ดลงในกระดาษกร๊าฟเพื่อเป็นการซ้อมมือในพื้นที่ 1 ตารางเมตรเสียก่อน โดยให้มีระยะถี่ห่างพอสมควร เสร็จแล้วนำเมล็ดที่หว่านลงไปทั้งหมดมาชั่งดูอีกที ด้วยวิธีดังกล่าวเราก็อาจทราบได้โดยประมาณว่าควรจะใช้เมล็ดต่อเนื้อที่สักเท่าใด

การหว่านเมล็ดตะกูนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรใช้มือหว่านแบบกระจัดกระจาย (Broadcast sowing) โดยให้มีระยะสม่ำเสมอคลุมพื้นที่โดยตลอดและคอยระวังอย่าให้เมล็ดซ้อนกัน เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้วให้ใช้ไม้เหลี่ยมที่เกลี่ยดินกดทับเมล็ดให้ฝังลงไปในดิน โดยให้ส่วนบนสุดของเมล็ดเสมอกับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดซ้อนกันหรือรวมกันเป็นกลุ่มในเวลาที่เรารดน้ำ จากนั้นใช้ทรายโรยกลบลงไปบนเมล็ดบาง ๆ อีกทีหนึ่งเพื่อทรายดังกล่าวจะช่วยให้น้ำที่เรารดซึมลงไปในแปลงได้สะดวก และช่วยไม่ให้น้ำขังบนหน้าแปลงอีกด้วย

4.1.2.5 การรดน้ำแปลงเพาะ ในขณะที่เมล้ดยังไม่งอกควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็น เพื่อให้ดินในแปลงชื้นอยู่เสมอ โดยใช้บัวรดน้ำชนิดที่หัวเป็นฝอยละเอียดเพื่อลดแรงกระแทกของน้ำ น้ำที่ใช้รดกล้าจะให้ดีควรผสมยาฆ่าเชื้อราลงไปด้วย โดยทั่วไปเมล็ดจะงอกหลังจากการเพาะไปแล้วประมาณ 10-14 วัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดและสภาพของดินฟ้าอากาศ จากการทดลองพบว่าหากเก็บเมล็ดในสภาพชื้นที่อุณหภูมิ 4  องศาเซลเซียส นาน 1-2 สัปดาห์ จะทำให้เมล็ดตะกูมีอัตราการงอกที่ดีขึ้นและหลังจากเมล็ดงอกแล้วควรจะลดการให้น้ำลง จนเห็นว่าดินในแปลงนั้นแห้งจริง ๆ จึงค่อยรดน้ำเท่าที่จำเป็นซึ่งอาจเป็นวันละครั้งในตอนเย็นหรือวันเว้นวัน เพื่อป้องกันมิให้กล้าไม้เกิดโรคเน่าคอดินได้

4.1.3 การย้ายชำ

4.1.3.1 ขนาดถุงพลาสติก ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุดินเพื่อชำกล้าไม้ตะกูควรใช้ขนาด 4 x 6 นิ้ว หนา 0.10 มม. น้ำหนัก 1 กก. จะมีจำนวนถุงประมาณ 700 ถุง ถุงพลาสติกก่อนนำไปบรรจุดินต้องใช้ที่เจาะปะเก็นเจาะรูเสียก่อน เพื่อช่วยระบายน้ำเวลารดน้ำ หรือฝนตกมากเกินไป เพราะถ้าหากให้น้ำขังในถุงชำแล้วอาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินแก่กล้าไม้ได้

4.1.3.2 ดินสำหรับบรรจุงชำ ดินที่ใช้บรรจุถุงพลาสติกเพื่อชำกล้าไม้เป็นหน้าดินจากป่าธรรมชาติ ซึ่งควรจะเป็นดินร่วนปนทรายซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีเช่นเดียวกับดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ด จากนั้นนำดินมาผสมกับทรายและขีเถ้าแกลบในอัตราส่วน 1:1:1 โดยใช้พลั่วผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วบรรจุดินใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูเตรียมไว้กระแทกก้นถุงให้แน่นและใช้มือขยุ้มพับก้นถุงให้แบนราบเพื่อสะดวกต่อการจัดเรียงเป็นแปลง ๆ

4.1.3.3 การชำกล้าไม้ กล้าไม้ตะกูหลังจากงอกแล้วจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ามาก จากการทดลองย้ายชำที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร พบว่ากล้าไม้ที่มีอายุประมาณ 3 เดือน ซึ่งมีขนาดความสูงราว 2-2.5 ซม. จะมีอัตราการรอดตายประมาณ 80 % สำหรับการให้ร่มกล้าไม้นั้นจะให้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเพราะถ้าให้ร่มมากเกินไปจะทำให้ได้กล้าไม้ที่ไม่แข็งแรง เพราะจะเจริญเติบโตทางด้านความสูงเร็วเกินไป ทำให้ลำต้นคดงอ ยอดอ่อน และยังเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ถ้าให้ร่มน้อยไปอาจทำให้กล้าไม้ที่เราย้ายชำลงไปรอดตายน้อย เนื่องจากถูกแดดแรงมากเกินไป

การถอนหรือขุดกล้าในแปลงเพาะชำเพื่อนำกล้ามาชำในถุงดินนี้ ควรต้องรดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อจะได้ถอนกล้าไม้ได้สะดวก กล้าไม้ที่ถอนขึ้นมาจากแปลงเพาะควรจะพักหรือเก็บไว้ในถังหรือขันพลาสติกซึ่งมีน้ำบรรจุอยู่เพื่อมิให้กล้าเหี่ยว การถอนกล้าไม้เพื่อชำครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรถอนเป็นจำนวนมาก ควรกะให้ชำแล้วเสร็จพอดีภายใน 2-3 ชั่วโมง

ก่อนชำกล้าไม้ลงถุงควรใช้ไม้แท่งกลมขนาดโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวพอประมาณ เสี้ยมปลายแหลมด้านหนึ่งคล้ายแท่งดินสอ แทงนำลงไปในถุงชำที่ได้รดน้ำเปียกโชกแล้ว โดยกะให้รูนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางถุงพอดี แล้วจึงค่อยชำกล้าไม้ลงทีหลัง เวลาชำให้นำส่วนรากของกล้าไม้ใส่เข้าไปในรูดังกล่าว แล้วกดดินโคนต้นกล้าให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้รากพับหรือบิดงอ และอย่าให้เกิดช่องว่างภายในรูนั้น หลังจากนั้นรดน้ำทันที่โดยใช้บัวรดน้ำชนิดเดียวกับที่ใช้รดน้ำกล้าไม้ในแปลงเพาะ

4.1.4 การดูแลรักษา

4.1.4.1 การรดน้ำ ในระยะแรกหลังจากย้ายชำกล้าไม้ใหม่ ๆ ควรจะรดน้ำในถุงชำทั้งเช้าและเย็นเพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็ว เมื่อกล้าไม้ตั้งตัวได้และได้โรยทรายหยาบหน้าถุงชำแล้ว รดเช้าเพียงวันละครั้งในตอนเช้าก็เพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้กล้าไม้เติบโตทางความสูงเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นอ่อนคองอและหักล้มได้ง่าย

4.1.4.2 การถอนวัชพืช เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชขึ้นเบียดเสียดแย่งอาการในถุงชำกล้าไม้ตะกู ควรทำการถอนวัชพืชอย่างน้อยเดือนละครั้ง ปกติจะถอนวัชพืชภายหลังจากการถอนกล้าไม้เสร็จแล้วใหม่ ๆ เพราะดินในถุงชำยังอ่อนอยู่ ซึง่จะทำให้การถอนวัชพืชดังกล่าวทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อถอนวัชพืชแล้วก็แต่งดินหรือทรายหน้าถุงชำนั้นให้เรียบร้อย

4.1.4.3 การตัดราก เนื่องจากหากปล่อยให้รากหยั่งลึกลงไปในดินนอกถุงชำแล้ว เวลาจะขนกล้าไม้ไปปลูกจะทำให้ระบบรากได้รับความกระทบกระเทือนมาก และอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตัดรากด้วยวิธีลากถุงหรือเลื่อนถุงชำกล้าไม้โดยใช้มือจับกึ่งกลางถุง กดให้ถุงแนบติดกับพื้นดินในขณะที่เราทำการเลื่อนหรือลากถุงก็จะทำให้รากดังกล่าวนั้นขาดได้ การตัดรากควรจะกระทำอย่างน้อย 2  เดือนต่อครั้ง

4.1.4.4 การจัดแยกชั้นความสูง เป็นการเรียงต้นไม้ตามลำดับตั้งแต่สูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้กล้าไม้ทุกต้นได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตเร็วและมีความแข็งแรง  กับทั้งยังมีความสะดวกในการคัดเลือกนำกล้าไม้ไปปลูกอีกด้วย

 

4.2 การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ

การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศนั้นเป็นการขยายพันธุ์แบบที่ไม่ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ ได้แก่ การตัดชำ การติดตา การต่อกิ่ง เป็นต้น การตัดชำกิ่งไม้ตะกูนั้นได้ทดลองกระทำที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร แต่ก็เป็นเพียงการสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น การปฏิบัติใช้วิธีคล้ายกับการตัดชำกิ่งไม้สนประดิพัทธ์ โดยตัดกิ่งอ่อนจากต้นที่ปลูกไว้อายุประมาณ 2-3 ปี แล้วชำลงในดินร่วนปนทรายในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยไม่มีการใช้ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นรากแต่ประการใด ผลการทดลองกระทำในเรือนเพาะชำประสพผลสำเร็จประมาณ 20 % เท่านั้น ซึ่งยังจะต้องมีการปรับปรุงการทดลองต่อไป

 

สำหรับการทดลองขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศวิธีอื่นที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชรนั้น พบว่าไม้ตะกูสามารถติดตาได้ดีในเดือนมกราคม โดยใช้วิธี  T-budding และสามารถต่อกิ่งได้ดีในเดือนมิถุนายน โดยใช้วิธีการต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น ส่วนการเสียบยอดก็พบว่าสามารถกระทำได้ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเหล่านี้ เป็นเพียงการทดลองทางวิชาการเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ตะกู เพื่อสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกสร้างสวนป่าต่อไปเท่านั้น

 

5. การเตรียมพื้นที่ปลูก

พื้นที่ที่จะใช้ทำการปลูกสร้างสวนป่าจะต้องจัดเตรียมไว้ให้เรียบร้อยก่อนถึงฤดูการปลูก คือจะต้องเตรียมพื้นที่ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า การถางป่าควรถางไม้ชั้นล่างตากไว้ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงโค่นไม้ใหญ่ทับกองในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการเก็บสุมเผา ทำให้งานเก็บริบเผาริบน้อยลงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย การเตรียมพื้นที่ปลูกที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นไปได้อย่างดี เป็นการเปิดโอกาสให้กล้าไม้ที่ปลูกได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่ และการเก็บริบสุมเผาเศษไม้เก่ายังเป็นการกำจัดโรคและแมลงอีกทางหนึ่งด้วย และหากเป็นไปได้ก็ควรทำการไถพรวนพื้นที่ด้วยรถแทรกเตอร์ เพราะนอกจากจะเป็นการพลิกดินให้ร่วนซุยแล้วยังเป็นการกำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่ง อันจะส่งผลดีทำให้กล้าไม้ตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น สำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถจะนำเครื่องจักรกลหรือรถแทรกเตอร์เข้าไปปฏิบัติงานได้ เช่น พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เป็นภูเขาสูงชัน การเตรียมหลุมปลูกให้กว้างใหญ่ก็จะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน

 

6.  การปลูกและระยะปลูก

ก่อนที่จะมีการปลูกต้นไม้จะต้องมีการกำหนดระยะปลูกเสียก่อน เพื่อให้สวนป่าเป็นแถวเป็นแนวมีระเบียบ มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน การกำหนดระยะปลูกปกติใช้หลักไม้ไผ่หรือไม้อื่นใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันทำการปักหลักหมายจุดที่จะปลูกลงบนพื้นที่ ทั้งนี้การกำหนดระยะปลูกจะถี่หรือห่างขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ สำหรับไม้ตะกู ดร. สมศักดิ์ สุขวงศ์ (2522) ได้แนะนำว่าควรเริ่มต้นระยะปลูกด้วย 2-3 เมตร เพื่อหวังผลในการช่วยปกคลุมวัชพืชในเวลาต่อมา แต่ที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร เนื่องจากได้พิจารณาเห็นได้ว่าไม้ตะกูเป็นไม้ที่โตเร็วมากและระยะปลูกดังกล่าวก็เหมาะที่จะนำเครื่องจักรกลเข้าไปใช้งาน

 

                การปลูกไม้ตะกูก็เช่นเดียวกับการปลูกพรรณไม้ชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะปลูกกันในตอนต้นฤดูฝนคือประมาณเดือนมิถุนายนไปถึงเดือนสิงหาคม เพราะการปลูกตั้งแต่เริ่มฤดูฝนจะช่วยให้ต้นไม้ตั้งตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตได้นานกว่าจะถึงฤดูแล้งต่อไป

 

                วิธีการปลูกนั้นก่อนอื่นจะต้องเตรียมหลุมปลูกตามตำแหน่งที่ปักหลักหมายไว้ โดยการขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของถุงกล้าไม้ประมาณ 2 เท่า ลึกเท่าคอรากของกล้า เมื่อเตรียมหลุมเสร็จก็ขนย้ายกล้าไม้ไปปลูก โดยพยายามให้กล้าไม้ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด ก่อนปลูกต้องกรีดถุงแล้วดึงพลาสติกที่บรรจุกล้าไม้ออก จากนั้นจึงวางกล้าไม้ลงในหลุมพยายามให้คอรากของกล้าไม้เสมอกับผิวดิน กลบหลุมปลูกด้วยหน้าดินที่ขุดขึ้นมา อัดดินให้แน่นพอสมควร มัดลำต้นของกล้าไม้ให้ติดกับไม้หลักเพื่อช่วยให้ลำต้นตั้งตรงและป้องกันการพัดโยกจากลม

 

7.  การบำรุงรักษาสวนป่า

                การบำรุงรักษาสวนป่านี้นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกสร้างสวนป่าเท่า ๆ กับการปลูกป่า ทั้งนี้เพราะหลังจากการปลูกสร้างสวนป่าเต็มพื้นที่แล้ว หากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีแล้วการปลูกป่าก็จะไม่ได้ผล การบำรุงรักษามีขั้นตอนดังนี้

7.1  การปลูกซ่อม ภายหลังการปลูกประมาณ 30-60  วัน ควรจะได้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การรอดตายของกล้าไม้ตะกู และทำการปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตายทันที ทั้งนี้อยู่ในระยะปลายฤดูฝนหรือยังมีฝนตกอยู่

7.2  การปราบวัชพืช ควรทำเมื่อวัชพืชนั้น ๆ จะปกคลุมต้นไม้จนเป็นเหตุให้การเจริญเติบโตไม่ดี ควรทำครั้งแรกให้แล้วเสร็จในปลายฤดูฝนหรือหมดฝนแล้ว ปกติจะทำในราวเดือนพฤศจิกายน สำหรับปีต่อไปควรจะถางวัชพืชในตอนต้นฤดูฝนเพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เต็มที่ และควรทำอีกครั้งในตอนปลายฤดูฝน เพื่อป้องกันไฟมิให้ลุกไหม้สวนป่าเสียหาย

7.3  การทำแนวกันไฟ ควรดำเนินการให้เสร็จก่อนเดือนกุมภาพันธ์ หากเป็นไปได้ควรใช้รถแทรกเตอร์ไถให้เตียนเป็นแนวรอบสวนป่า กว้าง  10-12  เมตร ซึ่งแนวกันไฟที่จัดทำไว้จะใช้เป็นทางตรวจการได้ด้วย

7.4  การชิงเผา สวนป่าที่มีวัชพืชหนาแน่นควรจะได้ถางแล้วเกลี่ยตากให้กระจายทั่วสวน แล้วชิงเผาในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดเชื้อเพลิงและป้องกันไฟไหม้สวนป่า

7.5  การตัดสางขยายระยะ สวนป่าแต่ละแห่งเมื่อมีอายุมากขึ้นต้นไม้จะขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น ทำให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง จึงต้องทำการตัดสางต้นไม้ออกเสียบางส่วนเพื่อขยายระยะห่างระหว่างต้นไม้ให้กว้างขึ้น ผลพลอยได้จากการตัดสางขยายระยะก็คือการขายไม้ที่ตัดออก ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนในการลงทุนทางหนึ่งก่อนจะถึงวัยตัดฟัน

 

8.  การป้องกันโรค แมลงและศัตรูธรรมชาติ

                ตะกูเป็นพรรณไม้เบิกนำซึ่งตามธรรมชาติจะขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ฉะนั้นศัตรูธรรมชาติ เช่น โรคและแมลงจึงมีน้อยกว่าพรรณไม้ดั้งเดิมที่ชอบขึ้นเดี่ยว ๆ แต่อย่างไรก็ตามในที่ซึ่งไม้ตะกูขึ้นอย่างหนาแน่นอาจพบหนอนผีเสื้อ Arthroschita hilaralis (Pyralidae)  เจาะทำลายบ้าง นอกจากนี้อาจพบนีมาโทดจำพวก Meloidogyne sp.  เกาะทำลายเรือนรากทำให้ต้นไม้ตายได้ ในประเทศฟิลิปปินส์ จากการทดลองกับต้นตะกูอายุ 6  เดือน พบว่าตะกูส่วนใหญ่จะติดเชื้อด้วยโรคจากนีมาโทดชนิดนี้ และจากการใช้ยาดีดีทีในอัตรา 40  ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นจะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีขึ้น

 

                สำหรับโรคราในแปลงเพาะกล้าไม้ตะกูนั้น เท่าที่พบโรคเน่าคอดิน (damping off) จะเป็นอันตรายที่สุดในระยะเริ่มแรก Bholachai, P. (1976) พบว่า หากหว่านเมล็ดตะกูลงในพื้นที่ขนาด 30 x 45  ซม.2  โดยใช้เมล็ดหนักมากกว่า 3  กรัม แล้วจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินอย่างรุนแรง เนื่องจากกล้าไม้มีความหนาแน่นมากเกินไป และขนาดความหนาแน่นที่เหมาะสมที่สุดคือใช้เมล็ดหนักประมาณ  0.5-3  กรัม ต่อพื้นที่ขนาดดังกล่าว

 

9.  การเจริญเติบโต

                อัตราการเจริญเติบโตของไม้ตะกูในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังย้ายปลูกแล้ว  1  ปี อาจสูงถึง  3  เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ  2-3  เมตร/ปี ติดต่อกันไปนาน  6-8  ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1.3-7.6  ซม./ปี เมื่ออายุเลย  20  ปีแล้วอัตราการเจริญเติบโตจะลดลง  Whitmore (1975) ได้รายงานว่าหากใช้รอบหมุนเวียน  30  ปี ต้นอาจโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  65  ซม.  และสูง  38  เมตร ให้ผลผลิตประมาณ  350  ลูกบาศก์เมตร/เฮกตาร์  ในประเทศฟิลิปปินส์  Manzo et al. (1971)  ได้บันทึกไว้ว่าตะกูสามารถเจริญเติบโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย  45  ซม. และสูง  12.6  เมตร ในเวลา  12  ปี ที่เปอร์โตริโก สวนป่าตะกูที่นำพันธุ์ไปจากเอเชียบางต้นหลังจากปลูกแล้ว  5  ปี มีความโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางถึง  38.10  ซม. และสูง  15  เมตร สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงประมาณ  280  ซม.  สูงประมาณ  27  เมตร และที่สวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่ออายุประมาณ  6 ปีครึ่ง  มีความสูงเฉลี่ยประมาณ  12.62  เมตร มีความโตทางเส้นรอบวง  56.8  ซม.  โดยให้ปริมาตร  10.88  ลูกบาศก์เมตร/ไร่  หรือ  68  ลูกบาศก์เมตร/เฮกตาร์

 

10.  การใช้ประโยชน์

                ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดี

 

                การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ  3  ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี  และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง

                นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟันเพียง  5-10  ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

ฝ่ายวนวัฒนวิจัย.  2526. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการป่าไม้ เล่มที่  9  ไม้ตะกู. กองบำรุง กรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพ ฯ.

 

สมศักดิ์ สุขวงศ์. 2522. กระทุ่มน้ำ. การสัมมนาทางวนวัฒนวิทยาครั้งที่  2  เรื่องไม้โตเร็ว. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ฯ.

 

Bholachai,  P.  and  I.L. Domingo. 1976. Density of  sowing  Anthocephalus chinensis  Rich. ex Walp. Seeds. Pterocarous 1 : 68 – 70.

 

Manzo, P.M., R.C. Eala and A.P. Bati. 1971. Kaatoan bangkal for veneer and plywood manufacture. Phil. Lumberman  17 : 30 – 32.

 

Whitmore, T.C. 1975. Tropical  rain  forests of the far east. Oxford : Clarendon Press.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล บ.ไม้สักหลวงไทยจำกัด

โครงการ: ปลูกต้นตะกูยักษ์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สักหลวง

การลงทุนปลูกต้นตะกู 1 -5 ปี

ผลประโยชน์เจ้าของที่ดินที่ได้รับ (สมมติที่ 10 ไร่ เกษตรกรซื้อต้นกล้าต้นละ 30 บาท ทำสัญญาเสร็จเริ่มปลูก 16,000 ต้น  (1 ไร่ ปลูกได้ 1,600 ต้น)

ครบรอบ 1 ปี

  บริษัทตัดต้นไม้

12,000 ต้น ๆ ละ

    60 x 12,000

=

 720,000  บาท

2 ปี

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

 720,000  บาท

3 ปี

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

 720,000  บาท

4 ปี

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

 720,000  บาท

ปีสุดท้าย 5 ปี

12,000 ต้น ๆ ละ

60 x 12,000

=

 720,000  บาท

ปีสุดท้าย 5 ปี

ตัดที่เหลืออีก

 4,000 ต้น ๆ ละ

      2,500 x  4,000

=

     10,000,000  บาท

                                                                         รวม  5  ปี  รับเงินทั้งสิ้น       13,600,000 บาท

                                     บริษัทฯ หักค่าดำเนินการไร่ละ 320,000 / 10 ไร่         3,200,000 บาท 

                                                                                     คงรับเงินได้สุทธิ  =   10,400,000 บาท

@@@ บริษัทหักค่าดำเนินการทุกปีปีละ  320,000 x4ปี  = 1,280,000 บาท  ปีที่ 5  หักค่าดำเนินการที่เหลืออีก 1,920,000  บาท  @@@

 

การลงทุนปลูกต้นตะกู 5 ปี

กรณีที่ 1    เกษตรกรให้บริษัทลงทุนให้ บริษัทคิดค่าใช้จ่ายและดำเนินการ ( ดำเนินการปลูก ติดสริงเกอร์ ให้ปุ๋ย)เป็นจำนวนเงินไร่   320,000 บาท   ทางบริษัทขอเรียกเก็บจากเกษตรกรก่อนไร่ละ 30,000  บาท ส่วนที่เหลือจะเก็บเมื่อตัดต้นไม้ เป็นจำนวนเงิน 290,000 บาท รวมเป็นเงินลงทุนทั้งหมด 320,000  บาท/ไร่ โดยบริษัทจะประกันราคารับซื้อต้นละ 2,500 บาท

ทุนปลูก 30,000 บาท/ไร่  2x 2 ม.   = 400 ต้น     ผลตอบแทน 5 ปี     400 x 2,500  =      1,000,000  บาท

หักค่าดำเนินการปีที่ 5                                     290,000  บาท

คงรับเงินได้สุทธิ                                      710,000  บาท

กรณีที่ 2   เกษตรกรซื้อต้นกล้าจากบริษัทต้นละ 10 บาท บริษัทจะประกันราคารับซื้อต้นละ 2,500 บาท โดยเกษตรกรดำเนินการลงทุนการปลูกเอง

 

หมายเหตุ

-     ค่าดำเนินการที่บริษัทรับผิดชอบคือ การปรับหน้าดิน ติดสปริงเกอร์ ให้ปุ๋ย โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการดูแลต้นไม้ อนึ่ง ไม้ที่ตัดไปนี้จะไปทำถ่านชีวมวล(Biomass Power) ทำกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ

-     ในกรณีที่เกษตรกรซื้อต้นกล้าในราคา 10 บาท เกษตรกรต้องลงทุนการปลูกเอง บริษัทรับประกันราคาซื้อคืนเช่นกัน

-     ไม้อายุ 1 ปี  สูง 10 ม.ขึ้นไป ราคาประกัน ต้นละ 60 บาท

-     ไม้อายุ 5 ปี   เส้นรอบวง 150 ซม.วัดจากโคนต้น 150 ซม. ความสูง 15 ม.ขึ้นไป ราคาประกันต้นละ  2,500  บาท

กรณีที่ 3 - ถ้าเกษตรกรปลูกไปแล้วยินดีรับซื้อไม้คืน โดยทำสัญญา ต้นละ 5 บาท

หลักฐาน

        1.   สำเนาโฉนด นส.3   สปก.(ถ่าย หน้า-หลัง)  หรือ ภ.บท.( ถ่ายบัตร) รับรองสำเนา ( ถ่าย 1 ชุด)

        2.   สำเนาบัตรประชาชน ( 1 ชุด)

        3.   สำเนาทะเบียนบ้าน (1 ชุด)

 

ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่  http://www.thaisakluangwood.co.th

บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด 349 หมู่ที่ 12 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150

Tel.พิฐชญาณ์(ผู้จัดการฝ่ายการตลาด) 080-613-4196 : กิตติศักดิ์(ผู้จัดการฝ่ายพื้นที่) 086-048-0854

Office : โทร.:+66 (044) 283-987 ,+ 66 (044) 283-887 แฟกซ์: +66 (044) 283-988

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่นๆ ตะโกส้ม ตุ้มขี้หมู ตุ้มหลวง ตุ้มพราย

ลักษณะต้นตะกู

เป็นไม้ที่มีลำต้นสูงเปลา มีขนาดสูง 15-30 เมตร เนื้อละเอียดสีเหลืองนวล แข็งแรงน้ำหนักเบา เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระเป็นร่องละเอียดตามแนวลำต้น ลักษณะกิ่ง แตกเป็นแนวทำมุมกับพื้นดินวางตำแหน่งเป็นคู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันเป็นช่วงๆ ตามแนวลำต้นแต่ละช่วงสลับกัน ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีคล้ายใบสัก ผิวเนียนละเอียด หลังใบมองเห็นกระดูกใบชัดเจน ใบและก้านมีกลิ่นหอม

โดยจะมีขนาดใบเฉลี่ยโดยประมาณ ด้านกว้าง 12-25 ซ.ม. ด้านยาว 18-30 ซ.ม. ดอกมีสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะกลายเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กลุ่มดอกลักษณะกลม ความโตประมาณ 3.5-7 ซ.ม. กลุ่มดอกจะออกในตำแหน่งปลายกิ่ง ในกลุ่มดอกมีกลีบดอกอัดแน่นจำนวนมาก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ใต้กลีบดอกมีกระเปาะเมล็ด 4 กระเปาะ มีเมล็ดข้างใน เมื่อผลแก่เต็มที่จะร่วงลงตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีลักษณะเด่นดังนี้

โตเร็ว ต้นเปลา ตรง ไม่มีกิ่งตามต้นเกะกะเนื่องจากต้นไม้จะทำการสลัดกิ่งตลอดเวลาที่เจริญเติบโต
     แปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง
ทนแล้ง
ทนน้ำหรือน้ำท่วมขัง ตะกูสามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขัง
     และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด
ตะกูจะมีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟันซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็ว
    ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าหลายรอบ

 

การเจริญเติบโต

4 เดือน 15 วัน

2 ปี

อัตราการเจริญเติบโตของไม้ตะกูในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังย้ายปลูกแล้ว 1 ปี อาจสูงถึง 3 เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2-3 เมตร/ปี ติดต่อกันไปนาน 6-8 ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.3-7.6 ซม. /ปี เมื่ออายุเลย 20 ปีแล้วอัตราการเจริญเติบโตจะลดลง Whitmore (1975) ได้รายงานว่าหากใช้รอบหมุนเวียน 30 ปี ต้นอาจโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 ซม. และสูง 38 เมตร ให้ผลผลิตประมาณ 350 ลูกบาศก์เมตร/เฮกตาร์ ในประเทศฟิลิปปินส์ Manzo et al. (1971) ได้บันทึกไว้ว่าตะกูสามารถเจริญเติบโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 45 ซม. และสูง 12.6 เมตร ในเวลา 12 ปี ที่เปอร์โตริโก สวนป่าตะกูที่นำพันธุ์ไปจากเอเชียบางต้นหลังจากปลูกแล้ว 5 ปี มีความโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 38.10 ซม. และสูง 15 เมตร สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงประมาณ 280 ซม. สูงประมาณ 27 เมตร และที่สวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่ออายุประมาณ 6 ปีครึ่ง มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 12.62 เมตร มีความโตทางเส้นรอบวง 56.8 ซม. โดยให้ปริมาตร 10.88 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ หรือ 68 ลูกบาศก์เมตร/เฮกตาร์

 

คุณสมบัติเนื้อไม้

ไม้ 3 ปี

ไม้ 3 ปี

เนื้อไม้ 5 ปี

ไม้ตะกูเป็นไม้ที่มีสีเหลืองนวล เนื้อไม้ละเอียด น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงทนทาน เนื้อไม้มีความเหนียว ไม่แตกหักง่าย ขึ้นรูปง่าย มีคุณสมบัติป้องกันแมลง, มอด, ปลวก จึงเป็นที่นิยมนำมาสร้างบ้าน ทำไม้พื้น ไม้กระดาน โดยส่วนประกอบอื่นๆ เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์, เครื่องเรือน, เครื่องใช้ในบ้าน เพราะง่ายต่อการแปรรูป สามารถแปรได้ไม้หน้าใหญ่และยาว เนื่องจากตะกูจะทำการสลัดกิ่งตลอดเวลาที่มีการเจริญเติบโต ต้นจึงเปลาสูงทำให้ได้ขนาดและมีปริมาณเนื้อไม้มาก

 

การใช้ประโยชน์

ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดี

การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง

 

                                          แปรรูป(ไม้ 11 ปี)

 

               กระดาษจากเยื่อไม้ตะกู

นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5-10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง


นอกจากนี้ไม้ตะกูยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าย่อม Biomass ได้อีกด้วย

ถ่านชีวะมวล ให้พลังความร้อนสูงเท่ากับถ่านหิน ถ่านที่ไร้สารพิษ
Biomass Power WOOD PELLET

PELLET

ค่าความร้อน ( mi/g )

ค่าความร้อน( kcal/kg )

 

ขี้เลื่อยละเอียด

 

14.30

 

3.4177

 

ขี้เลื่อยหยาบ

 

16.90

 

4.0391

 

เนื้อในไม้ตะกู8-10เดือน

 

18.40

 

4.3976

 

เนื้อในไม้ตะกู 1-1.50 ปี

 

18.20

 

4.3498

 

เนื้อในไม้ตะกูรวมเปลือก 8-10 เดือน

 

18.30

 

4.3737

 

เนื้อในไม้ตะกูรวมเปลือก 1-1.50 ปี

 

18.30

 

4.3737

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขายต้นกล้า ต้นตะกูก้านแดง ทั่วประเทศ
ข้อความ : www.tagoo.igetweb.com จำหน่ายต้นกล้าต้นตะกู พันธุ์ก้านแดง 
ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดี 
การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเซ็ทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง 
นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5-10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง 
ลักษณะเด่นสายพันธุ์ ต้นตะกูพันธุ์ก้านแดง 
* ปลูกง่าย ดูแลง่าย โตเร็ว ลำต้นตรง มีกิ่งก้านน้อย ดังนั้น จึงได้ไม้ที่มีคุณภาพสูง หลังจากที่เลื่อยออกมาเป็นแผ่นจะมีตาไม้น้อย 
* ความสูงเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3 เมตรต่อปี 
* เส้นผ่าศูนย์กลางเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 7-10 ซม.ต่อปี 
* เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน คล้ายเนื้อไม้สักทอง 
* ปลวก มอด ไม่กิน 
* อายุการตัดประมาณ 5-6 ปี (ถ้าอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป จะได้ไม้คุณภาพใกล้เคียงกับไม้เนื้อแข็ง) 
(การดูแลและสภาพแวดล้อม มีผลต่อการเจริญเติบโต) 
บริษัทฯ มีต้นกล้าจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง 
* ต้นกล้าเพาะจากเมล็ดเท่านั้น 
* ต้นตะกูพันธุ์ก้านแดง ความสูง 12-15 ซม. 
ประกันราคารับซื้อคืนผลผลิต ต้นตะกูพันธุ์ก้านแดง 
* อายุ 5 ปี ขึ้นไป 
* ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. ความสูง 10 เมตรขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ราคารับซื้อคืนต้นตะกูยักษ์ ฟาร์มราเชน
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552

ราคารับซื้อต้นตะกู อายุ 5 ปี ขึ้นไป รับซื้อ ต้นละ 1,000 - 1500 บาท
ขนาดเส้นรอบวงต้น 110 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 15 เมตร 

(ราคาโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นรอบวงต้น
การดูแลรักษาและสภาพแวดล้อม มีผลต่อการเจริญเติบโต) 

โทร. 02-8786088, 083-2632333




ต้นตะกู เป็นไม้ที่ขึ้นได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่ตามป่าริมห้วยและที่เป็นเขา หรือบริเวณบ้านที่มีความชุ่มชื้น

ไม้ตะกูอยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อสามัญรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นว่า ตุ้มหลวง (ภาคเหนือ) ไม้กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (ภาคกลาง) ตะโกใหญ่ หรือตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อนในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้นสามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพ แตกหน่อได้ดี มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย 

ต้นตะกูเป็นไม้มงคล ปลูกได้ในทุกที่ ที่ลุ่ม ที่ใกล้น้ำ เป็นเขา ริมสระน้ำ บ่อลูกรังที่มีหินกรวด ดินร่วน ดินทรายในประเทศไทย มีการเริ่มปลูกกันบ้างแล้วในทุกพื้นที่ คาดว่าอีก 5 ปี ประเทศไทยจะมีป่าไม้ขนาดใหญ่ สามารถช่วยให้ความชุ่มชื้น ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำป่าน้อยลง และที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของสวนอย่างงามไม่น้อยไปกว่ายางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ 

ต้นตะกู เป็นไม้ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีไม้หวงห้าม จึงเหมาะแก่การนำมาเป็นไม้เศรษฐกิจ ด้วยคุณสมบัติ คือ เป็นไม้ที่โตเร็วกว่าต้นไม้ทั่วๆไป และ เนื้อไม้ก็มีคุณสมบัติใกล้ เคียงกับไม้สักทอง มีเนื้อไม้ที่ละเอียดและ แน่นไม่บิดง่าย และปัจุบันป่าไม้ในประเทศไทยก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ต้นตะกู จึงเป็นอีกทางเลือก ที่จะทำให้ธรรมชาติของประเทศไทยเรา อุดมสมบูรณ์ และ ลดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

ปลูกแล้วได้อะไร 
1 ไร่ ปลูกได้ 177 ต้น (ระยะปลูก 3 x 3 m.) ขายได้ 1000 – 1500 ต่อต้น
5 ปี = ตัดได้ เฉลี่ย=177 x 1,000=177,000 บาท ต่อ 5 ปี

การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์
การปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน 
1 ไร่ ระยะปลูก 3 x 3 m. ปลูกได้ = 177 ต้น 

หลุมปลูกมีขนาด 30x30 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษ รองก้นหลุมๆละ 250-300 กรัม คลุกเคล้าให้ทั่วหลุม แล้วนำต้นตะกูลงไปปลูกในหลุม โดยให้ระมัดระวังขณะฉีกถุงอย่าให้ดินในถุงแตก หลังขากนั้นให้กลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งหรือน้ำแฉะขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ เพื่อป้องกันต้นล้ม 

ต้นตะกูใช้ทำอะไรได้บ้าง 
ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ทำเฟอร์นิเจอร์ได้สวยงาม สีของไม้นั้นสวยงาม และคงทนต่อปลวกและ มอด รวมทั้ง มีน้ำหนักเบา และเหนียวตอกตะปูไม่แตกง่ายเหมือนไม้สัก และ ตัดเป็นไม้ซุง ขายส่งออกต่างประเทศได้ 

การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง 





จำหน่ายกล้าต้นตะกู ก้านแดง ปลีกส่ง ราคาตั้งแต่ 10-90 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนสั่งซื้อ และขนาดของต้นกล้า 




ลักษณะเด่น ต้นตะกู พันธุ์ก้านแดง 
* ปลูกง่าย ดูแลง่าย โตเร็ว ลำต้นตรง มีกิ่งก้านน้อย ดังนั้น จึงได้ไม้ที่มีคุณภาพสูง หลังจากที่เลื่อยออกมาเป็นแผ่นจะมีตาไม้น้อย 
* ความสูงเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3 เมตรต่อปี
* เส้นผ่าศูนย์กลางเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 7-10 ซม.ต่อปี
* เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน คล้ายเนื้อไม้สักทอง 
* ปลวก มอด ไม่กิน 
* อายุการตัดประมาณ 5-6 ปี (ถ้าอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป จะได้ไม้คุณภาพใกล้เคียงกับไม้เนื้อแข็ง) 
(การดูแลและสภาพแวดล้อม มีผลต่อการเจริญเติบโต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายละเอียดของสินค้า:

มีกล้าพันธ์ขายครับก้านแดงต้นละ 5 บาทครับสูง 8-10 นิ้วครับสั่งครับ ผม ปลูกแล้ว 100 ไร่ครับ
จ.เพชรบูรณ์ครับ
เมื่อปลูกครบ 5 ปี
ต้นตะกูจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่ต่ำกว่าสามสิบเซ็นและสูงไม่ต่ำกว่าสิบเมตร จะทำให้ตะกูมีเนื้อไม้ 2.5 คิว ปัจจุบันราคาไม้ คิวละ 2,500 บาท ไม้ตะกูมีความหนาแน่นของเนื้อไม้อยู่ที่ 0.5 และไม้สักทองมีเนื้อไม้อยู่ที่ 0.56 ซึ่งใกล้เคียงกันมาก สีเนื้อไม้ก็ใกล้เคียงกัน ปลูก 1 ครั้ง ตัดได้ 3 เที่ยว ครับ

ไม้ตะกู
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp.
วงศ์ : Rubiaceae
อันดับ : Gentianales
ชื่อการค้า : ตะกู
ชื่อสามัญ : Bur-flower Tree
ชื่อท้องถิ่นในประเทศไทย : กรองประหยัน (ยะลา) กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (กลาง, เหนือ) กว๋าง (ลาว) โกหว่า (ตรัง) แคแสง (ชลบุรี, จันทบุรี) ตะกู (กลาง, สุโขทัย) ตะโกส้ม (ชลบุรี, ชัยภูมิ) ตะโกใหญ่ (ตราด) ตุ้มก้านซ้วง, ตุ้มก้านยาว, ตุ้มเนี่ยงและตุ้มหลวง (เหนือ) ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ทุ่มพราย (ขอนแก่น) ปะแด๊ะ, เปอแด๊ะและสะพรั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปาแย (มลายู-ปัตตานี)
081-906-5549 อ.ชอบ

 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น